วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

รถลากพาเลท รถลากไฟฟ้า บทวิเคราะห์ 7


จากทั้ง 2 ปรากฏการณ์ทำให้ปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลง เกิดโรคระบาด พืชผลทางการเกษตรเสียหาย
           ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก นำไปสู่การลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ปี พ.ศ. 2535 ที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ขณะนี้มีประเทศอุตสาหกรรม 155 ประเทศร่วมลงนาม
          ประเทศไทยได้ลงนามในสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้ วันที่ 28 มี.ค. 2538 และได้มีการเพิ่มเติมพันธกรณีอนุสัญญาฯ ให้มีเป้าหมายในการดำเนินการและพันธะผูกพันทางกฎหมาย ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้น้อยกว่า 5.2% ภายใน 2551-2555 เป็นที่มาของสนธิสัญญาเกียวโต (Kyoto Protocol) ของประเทศอุตสาหกรรม 186 ประเทศ ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ วันที่ 16 ก.พ. 2548 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน วันที่ 28 ส.ค. 2545
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก คือ
1.การแก้ปัญหาขยะพลาสติก
2.การแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์
3.อนุรักษ์พลังงาน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4.อนุรักษ์ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม
5.เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม 
6.สร้างเทคนิคการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน สายด่วนสายตรงเพื่อสื่อสารผ่านทางสื่อมวลชน โครงการรณรงค์ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างจิตสำนึกการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นฐาน
จากการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวย่อมส่งผลต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจและการบริหารในองค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น